วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560

โรคข้อและกระดูกเสื่อม วิธีรักษาด้วยอาหารเสริม

โรคข้อเข่าเสื่อม Osteoarthritis of the knee

ข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานาน เกิดการเสื่อมของข้อ ทำให้มีการงอกของกระดูกเวลาเดินจะเจ็บข้อ มีการผิดรูปของข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตลดลง และทำให้โรคอื่นๆกำเริบ เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากออกกำลังไม่ได้
โครงสร้างของข้อเข่าของคนประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วนคือ
  1. กระดูกต้นขา Femur ซึ่งเป็นกระดูกส่วนบนของเข่า
  2. กระดูกหน้าแข็ง Tibia ซึ่งเป็นกระดูกส่วนล่างของเข่า
  3. กระดูกสะบ้า Patella ซึ่งอยู่ส่วนหน้าของเข่า
ผิวของข้อเข่าจะมีกระดูกอ่อน cartilage รูปครึ่งวงกลมหุ้ม ทำหน้าที่กระจายน้ำหนัก ในข้อเข่าจะมีน้ำเลี้ยง synovial fluid เปรียบเสมือนน้ำหล่อลื่น เป็นการป้องกันการสึกของข่อเข่า เมื่อเราเดินหรือวิ่ง ข้อของเราจะต้องรับน้ำหนักเพิ่ม ดังนั้นยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าใดข้อต้องรับน้ำหนักมากเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีเอ็นและกล้ามเนื้อที่ทำให้ข้อเข่าแข็งแรง

กลไกการเกิดข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมหมายถึงการที่กระดูกอ่อนของเข่ามีการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ก็จะเกิดการเสียดสี และเกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็ง ไม่เรียบ เมื่อข้อเข่าเคลื่อนไหวจะเกิดเสียงดังในข้อ เกิดอาการเจ็บปวด หากข้อเข่ามีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดการบวม ตึง และปวดข้อเข่า
เมื่อมีการเสื่อมมากขึ้น ข้อเข่าก็จะมีการโก่งงอ ทำให้เกิดอาการปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว และขนาดของจ้อเข่าก็มีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน บางท่านไม่เดินทำให้กล้ามเนื้อต้นขาลีบและไม่มีกำลัง ข้อจะติดเหมือนมีสนิมเกาะเท้าจะเหยียดไม่สุด
เมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น กระดูกอ่อนจะมีขนาดบางลง ผิวจะขรุขระ จะมีการงอกของกระดูกขึ้นมาเรียกว่า osteophyte เมื่อมีการอักเสบเยื่อหุ้มข้อจะสร้างน้ำเลี้ยงข้อเพิ่ม ทำให้ข้อมีขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อลีบลง การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรงกระดูกอ่อนจะบางมาก ปลายกระดูกจะมาชนกันเวลาขยับข้อจะเกิดการเสียดสีในข้อ



โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือที่มักเรียกกันในชื่อ  "โรครองช้ำ" เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยอายุ 40ปีขึ้นไป

สาเหตุของโรคอาจเกิดได้จาก 

  • การรับน้ำหนักเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นที่ฝ่าเท้ารับน้ำหนักมาก พบได้บ่อยในผู้ที่ต้องยืนเป็นเวลานานในระหว่างวัน เช่น ผู้ที่ต้องยืนตลอดกะการทำงานทั้ง 8 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น
  • น้ำหนักตัวมาก น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจก่อให้เกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้
  • สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า
  • ลักษณะการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เพิ่มระยะทางการวิ่งออกกำลังกาย การเดิน/วิ่งบนพื้นผิวที่ต่างไปจากเดิมหรือบนพื้นผิวแข็ง (เช่น พื้นซีเมนต์หรือคอนกรีต)
  • เอ็นร้อยหวายยึด ทำให้ส้นเท้าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือข้อสันหลังอักเสบ อาจทำให้มีโอกาสเกิดการอักเสบที่เส้นเอ็นในจุดใดจุดหนึ่งที่เชื่อมต่อกับกระดูก ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้
  • ปัจจัยทางโครงสร้างร่างกาย เช่น เท้าแบนเกินไป อุ้งเท้าโก่งมากเกินไป หรือเส้นเอ็นยึดบริเวณน่องทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อเท้าได้ตามปกติ
ลักษณะของอาการเจ็บจะเป็นแบบปวดจี๊ดขึ้นมาและปวดแสบ โดยมากความเจ็บปวดจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อย จนคิดว่าเดี๋ยวอาการปวดก็หายไป แต่ก็จะกลับมาปวดอีก อาการปวดจะรุนแรงที่สุดเมื่อเริ่มมีการลงน้ำหนักที่ส้นเท้าในก้าวแรก เช่น เมื่อลุกเดินก้าวแรกหลังตื่นนอน หรือหลังจากนั่งพักเป็นเวลานาน นอกจากนี้ อาจมีอาการปวดมากขึ้นได้ในช่วงระหว่างวันและ/หรือหลังจากที่เท้าต้องรับน้ำหนักเป็นเวลานาน เช่น ยืนหรือเดินเป็นเวลานาน และเมื่อมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นก็จะยิ่งมีอาการปวดมากขึ้น 
การรักษาโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ทำได้โดย
  • รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับกระดูก เช่น อุปกรณ์เสริมอุ้งเท้าด้านใน (arch support) และ/หรืออุปกรณ์รองรับส้นเท้า (heel cushion)
  • ทำกายภาพบำบัด ได้แก่ การฝึกยืดเอ็นร้อยหวาย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
  • ฉีดสเตียรอยด์ แต่เป็นวิธีที่ไม่นิยมนัก โดย 98% ของผู้ที่ได้รับการฉีดสเตียรอยด์จะรู้สึกดีขึ้น แต่ต้องใช้เวลานานถึง 18 เดือนจึงจะหายขาด และในบางครั้งโรคอาจเกิดขึ้นมาได้อีก 
ทั้งนี้ การรักษาโรคนี้โดยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ การเจ็บปวดต่อเนื่อง การที่เส้นประสาทเล็กๆ บริเวณฝ่าเท้าได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกชาและเหมือนมีเข็มตำที่ส้นเท้า นอกจากนี้การผ่าตัดนำพังผืดออกอาจส่งผลให้ฝ่าเท้าแบนอีกด้วย
แม้จะดูเหมือนโรคนี้ไม่อันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้ หากมีอาการปวดส้นเท้าผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป  

ภาวะกระดูกงอก

หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก หรือไม่เคยได้ยินอาการนี้  กระดูกงอกเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
กระดูกงอก เกิดจาก ความพยายามตามธรรมชาติของร่างกาย ที่จะซ่อมแซมรักษาส่วนที่บาดเจ็บ ฉีกขาด มีการอักเสบ หรือ มีการเสื่อมสภาพ โดยมีแคลเซี่ยมมาเกาะในบริเวณนั้น ถ้าแคลเซี่ยมเกาะกันมากเข้าก็จะกลายเป็น กระดูกงอกขึ้นมา ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องปกติ ตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นสิ่งแปลก หรือ เป็นสิ่งเลวร้ายอะไรที่ เอกซเรย์ แล้วเห็นว่ามีกระดูกงอก แต่ถ้าพบว่า มีกระดูกงอกแล้วจะต้องรักษา โดยการผ่าตัด เอากระดูกงอกนั้นออกหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า
1.กระดูกงอก เป็นปลายเหตุมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดการอักเสบ การบาดเจ็บ แล้วร่างกายก็ตอบสนอง พยายามรักษาตัวเอง เช่น เส้นเอ็นร้อยหวาย เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ กระดูกสันหลังเสื่อมในระยะข้อหลวม กระดูกหัก เส้นเอ็นฉีกขาด กล้ามเนื้อฉีกขาด เป็นต้น ถ้าเป็นกรณีนี้ การผ่าตัด เอากระดูกงอกออกไป นอกจาก จะไม่ดีขึ้น แล้วยังอาจ แย่ลงกว่าเดิมเสียอีก
2.กระดูกงอก เป็นต้นเหตุ กระดูกงอก ทำให้เกิดการอักเสบ อาการปวด เนื่องจาก กระดูกงอกที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายนั้น มีขนาดใหญ่มากเกินไป จนไปกดเบียดเนื้อเยื่อใกล้เคียง เช่น กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท ข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น ถ้าเป็นกรณีนี้ การผ่าตัด เอากระดูกงอกออกไป ก็จะทำให้ดีขึ้น
ดังนั้น เมื่อเอกซเรย์ พบว่า มีกระดูกงอก ก็ต้องแยกให้ได้ก่อนว่า กระดูกงอกนั้น เป็นต้นเหตุ หรือ ปลายเหตุ ของอาการที่เป็นอยู่ ไม่ใช่ว่า เห็นกระดูกงอก แล้วต้องผ่าตัดออก ทุกครั้งไป 



วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

โรคร้ายใกล้ตัวคุณ "มะเร็ง" รู้ไว้ก่อนสาย


มะเร็ง คือ การแบ่งตัว อย่างผิดปกติของกลุ่มโรคที่เซลล์เจริญ หรือมี การที่เซลล์เปลี่ยนสภาพไปจากปกติจึงไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของร่างกาย ทำให้เกิดการรุกรานเนื้อเยื่อข้างเคียง การแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ได้อีก ซึ่งจะแตกต่างจากเซลล์เนื้องอกธรรมดาจะไม่แพร่กระจาย ไม่รุกรานอวัยวะต่างๆ

มะเร็ง มีสาเหตุมาจากยีน ซึ่งควบคุมการทำงานของเซลล์ผิดปกติไป โดยอาจเป็นผลมาจากสารก่อมะเร็ง เช่น ยาสูบ ควัน รังสี สารเคมี หรือเชื้อโรค นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องของความอ้วน เป็นภาวะเสี่ยงของมะเร็งมดลูก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งที่ไต มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเต้านม มะเร็งไขกระดูก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งปากมดลูก จากสถิติของผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทยเมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า เพศชายเสียชีวิตจากมะเร็งปอดมากที่สุด รองลงมาคือ มะเร็งตับ ส่วนเพศหญิงเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด รองลงมาคือ มะเร็งเต้านม


โดยปกติมะเร็งทุกชนิดมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ ยกเว้น มะเร็งเม็ดเลือดขาว นักภูมิคุ้มกันวิทยาอเมริกันพบว่า การกระตุ้น Th1 และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Th17 ทำให้เม็ดเลือดขาวเพชฌฆาตจัดการกับเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะพัฒนาวิธีการต่างๆที่จะนำ Th17 มาเพื่อใช้รักษามะเร็ง แต่จนบัดนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จในการกำหนดวิธีการมาตรฐานที่ได้ผล และปลอดภัย

คณะนักวิจัยได้วิจัยและพัฒนาสารเสริมประสิทธิภาพจากสารสกัดมังคุด GM-1 งาดำ โปรตีนจากถั่วเหลือง ฝรั่งและบัวบก จนได้แคปซูลเสริมอาหาร ที่พิสูจน์โดย ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ แล้วว่าสามารถกระตุ้นการทำงานของ Th1 ได้ชัดเจน และกระตุ้น Th17 เพิ่มขึ้นได้หลายเท่า และแพทย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้พิสูจน์แล้วว่า สารเสริมประสิทธิภาพนี้สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายที่ไม่ตอบสนองต่อเคมีบำบัดแล้วอย่างน้อย 2 สูตรได้อย่างปลอดภัยและไร้ผลข้างเคียง




ซีสต์ (Cyst) หมายถึง ถุงน้ำ หรือก้อนตุ่มไตที่ผิดปกติ มักเป็นเนื้องอกไม่ร้าย (ไม่เป็นมะเร็ง) ประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นถุงเมมเบรนปิดแยกออกจากเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ภายในอาจบรรจุอากาศ ของเหลว ไขมัน หรือเซลล์ผิวหนัง เช่น กระดูก ฟัน ลูกตา เล็บ หรือเส้นผมเป็นต้น

ซีสต์ เกิดขึ้นได้ในหลายๆตำแหน่งภายในร่างกาย ที่พบบ่อย เช่น ที่บริเวณเต้านม เปลือกตา รังไข่ นิ้วมือ แขน ขา ไต และใต้ผิวหนังส่วนต่างๆ ซีสต์มีหลายชนิด เรียกแตกต่างกันตามลักษณะการเกิด ตำแหน่งที่เกิด และลักษณะของซีสต์เอง เช่น

เดอร์มอยด์ซีสต์ (Dermoid cyst หรือ Teratoma) เกิดจากเซลล์ผิวหนังที่จัดวางอยู่ผิดตำแหน่งตั้งแต่พัฒนาการขั้นแรกของทารกในครรภ์ มักพบเส้นผม เล็บ กระดูก ไขมันอยู่ภายใน

ช็อกโกแล็ตซีสต์ (Chocolate cyst หรือ Endometriosis) คือ ซีสต์ ที่ภายในบรรจุของเหลวสีน้ำตาลคล้ายชอคโกแล็ต ซึ่งจริงๆ แล้วคือ เยื่อบุมดลูกที่เป็นเลือดประจำเดือนเก่าๆ ซึ่งไหลย้อนกลับผ่านท่อนำไข่ ไปฝังอยู่ในส่วนต่างๆ เช่น รังไข่ มดลูก และนอกมดลูก

ฟังชันนัลซีสต์ (Functional cyst) คือ ซีสต์ที่สามารถยุบฝ่อหายไปเองได้ เมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโต



ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ในทางการแพทย์เรียกว่า "เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่" (Endometriosis) เกิดจากเลือดประจำเดือนที่ปกติต้องไหลออกมาทางช่องคลอด แต่กลับไหลย้อนกลับเข้าไปในช่องท้องผ่านท่อรังไข่ และนำเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกเข้าไปด้วย เมื่อเซลล์นี้ไปฝังตัวอยู่ที่อวัยวะไหนก็จะเกิดถุงน้ำขึ้นที่อวัยวะนั้น เช่น อุ้งเชิงกราน ท่อรังไข่ ลำไส้ ช่องคลอด มดลูก ฯลฯ

บริเวณที่พบช็อกโกแล็ตซีสต์ได้บ่อยคือรังไข่ เนื่องจากบริเวณรังไข่เป็นบริเวณที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง จึงเหมาะแก่การเจริญเติบโต แต่ถ้าเยื่อบุโพรงมดลูกแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูกจะไม่กลายเป็นซีสต์ ทว่าจะกลายเป็นพังผืดหรือก้อนในกล้ามเนื้อมดลูกแทน เพราะกล้ามเนื้อมดลูกค่อนข้างแข็ง และเราเรียกภาวะนี้ว่า "Adenomyosis" ซึ่งผลที่ตามมาคือภาวะปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ประจำเดือนมามาก และมีบุตรยาก


ทั้งนี้ เมื่อเวลาที่ผู้หญิงมีประจำเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัวออกมา ถุงน้ำที่ฝังตัวอยู่ก็จะมีเลือดออกด้วย แต่เมื่อเลือดประจำเดือนออกหมดแล้วในเดือนนั้น ร่างกายก็จะดูดน้ำจากถุงกลับมา ทำให้เลือดในถุงเข้มข้นขึ้น หากเลือดค้างอยู่ในถุงน้ำนาน ๆ จะกลายเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเหมือนช็อกโกแลต จึงเรียกว่า "ถุงน้ำช็อกโกแลต" หรือ "ช็อกโกแลตซีสต์" นั่นเอง





เรายินดีให้คำแนะนำ โทร หรือติดต่อเรา คลิกที่นี่